19 มิถุนายน 2559

ขาไป ขากลับ ในภาษาอังกฤษ


ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

Flight - เที่ยวบิน

Journey/Trip - การเดินทาง

Departure - ออก

Arrival - ถึง

Destination - จุดหมายการเดินทาง

One-way ticket - ตั๋วเที่ยวเดียว

Round-trip ticket - ตั๋วไปกลับ

Check-in agent - พนักงานเช็คอิน


ขาไป/กลับ

"ขากลับ" ภาษาอังกฤษ เราใช้คำว่า "Return" ง่ายมาก แต่สำหรับ "ขาไป" ในภาษาอังกฤษ... เอิ่ม ดันไม่ง่ายเหมือน "ขากลับ" เลยครับ

มาพูดถึงของง่ายกันก่อนละกัน เราสามารถใช้คำว่า "Return" นำหน้าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ "ขากลับ" ได้หมด เช่น
ตั๋วขากลับ - a return ticket  
ทริปขากลับ - a return trip  
วันที่จะกลับ - a return date 

แล้ว "ขาไป" ล่ะ? ที่ "ขาไป" นั้นยากกว่า "ขากลับ" เพราะว่าถ้าหากจะพูดถึงแค่ "ขาไป" อย่างเดียวโดยไม่มี "ขากลับ" มาเกี่ยวข้อง (คือไม่ได้พูดถึงขากลับเลย) ก็จะไม่ใช้คำว่า "ขาไป" แต่จะเลี่ยงไปพูดวิธีอื่นแทน หลักการก็คือ ให้ไปเน้น "สถานที่ๆจะไป" แทน
ตั๋วขาไป -  เราจะใช้ "a ticket to [ประเทศที่จะไป]" เช่น "a ticket to Japan" ซะมากกว่า ซึ่งหมายถึง "ตั๋วไปญี่ปุ่น" 
ทริปขาไป - เช่นเดียวกับเคสของ "ตั๋วขาไป" เราจะใช้ "a trip to + [สถานที่]" เช่น "a trip to Japan"
วันที่จะไป - ในภาษาอังกฤษ คำที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็น "a departure date" แต่ก็ไม่ได้ตรงเป๊ะๆ เพราะ "departure" แปลว่า "ออก" ถ้าเราอยู่ไทยตอนนี้ "departure date" ก็หมายถึง "วันที่ออกจากไทย" แต่ถ้าเราไปถึงญี่ปุ่นแล้ว "departure date" ก็จะหมายถึง "วันที่ออกจากญี่ปุ่น" แทน

สรุปก็คือถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ให้พยายามเลี่ยงใช้คำว่า "ขาไป" แล้วไปเน้นที่ "สถานที่" แทน

ตัวอย่างประโยค

สมมติต้องบินจากกรุงเทพฯไปสิงคโปร์... จะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ขาไป/ขากลับ เลย
ขาไปออกกี่โมง
What time do we leave for Singapore? 
ขาไปถึงกี่โมง
What time do we arrive Singapore? 
ขากลับออกกี่โมง
What time do we leave for Bangkok? 
ขากลับถึงกี่โมง
What time do we arrive Bangkok?
Note
Leave Thailand = ออกจากประเทศไทย
Leave for Thailand = ออกจาก(ประเทศอื่น)เพื่อมาประเทศไทย

หรืออีกตัวอย่างนึง
ขาไปบินวันที่ 20 มิ.ย. ส่วนขากลับบินวันที่ 25 มิ.ย.
I'm flying out on June 20th and returning on June 25th.

ซึ่งแปลตรงตัวก็คือ "ฉันจะบินออกไปวันที่ 20 มิ.ย. และจะกลับวันที่ 25 มิ.ย." ไม่จำเป็นต้องมีคำว่า ขาไป/ขากลับ มาอยู่ในประโยค

หรือสมมติว่ากำลังจะไปฝรั่งเศส และต้องการซื้อแค่ตั๋วขาไป
ฉันต้องการซื้อแค่ตั๋วขาไปอย่างเดียว ส่วนตั๋วขากลับฉันจะไปซื้อที่นั่น 
I want to buy only a one-way ticket to France, I will buy a return ticket there. 
เราใช้คำว่า "one-way ticket" ซึ่งหมายถึง "ตั๋วเที่ยวเดียว" และเอา "to France" มาต่อหลัง จึงหมายถึง "ตั๋วเที่ยวเดียวเพื่อไปฝรั่งเศส" = "ตั๋วขาไป"


แต่อยากรู้ว่า "ขาไป" ภาษาอังกฤษคืออะไร

ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้คำว่า "ขาไป" จริงๆเราสามารถใช้ 2 คำนี้ได้ ก็คือ "Outbound" หรือ "Outward" โดยใส่นำหน้า "Journey/Flight" เช่น "Outbound flight" คือ เที่ยวบินขาไป หรือ "Outward journey" คือ "การเดินทางขาไป"

แต่ไม่ควรใส่นำหน้า "Ticket" ด้วยเหตุผลที่จะบอกในตอนท้าย

2 คำนี้ไม่ได้แปลว่า "ขาไป" เป๊ะๆ แต่หมายถึง "ขาออก" 

ตัวอย่างประโยค
กฎหมาย EU อนุญาติให้ผู้โดยสารสายการบินที่ได้ซื้อตั๋วไปกลับ แต่ไม่ได้ใช้ตั๋วขาไป มีสิทธิ์ที่จะใช้ตั๋วขากลับได้อยู่ 
According to the EU law, if the air traveller buys a round-trip ticket, but doesn't use it for the outbound flight, he or she is still allowed to use it for the return flight.

แล้ว Onward ticket หรือ Outbound ticket แปลว่าอะไร?
แปลตรงตัวก็คือ "ตั๋วขาออก" หรือ "ตั๋วเพื่อออกไป"
ในบริบทของการเดินทางส่วนมากจะใช้ เพื่อหมายถึง ตั๋วเครื่องบิน/รถไฟ/รถบัสที่จะเราจะใช้เพื่อออกจาก "ประเทศที่เรากำลังจะเข้าไป" เพื่อเป็นหลักฐานว่าเราจะออกจากประเทศนั้นจริงๆ

นั่นก็จะหมายความว่า Onward ticket หรือ Outbound ticket ไม่ได้แปลว่า "ตั๋วขาไป" แต่หมายถึง "ตั๋วเพื่อออกจากประเทศที่เรากำลังจะเข้า" นั่นก็คือ "ตั๋วขากลับ" นั่นเอง งงมั้ยล่ะ?

ตัวอย่างประโยค
เราจะเข้าประเทศญี่ปุ่นได้มั้ย ถ้าเราไม่มีตั๋วสำหรับออกจากประเทศญี่ปุ่น
Can we enter Japan without an onward ticket?
 
พนักงานเช็คอินถามฉันว่ามีตั๋วเพื่อออกหรือกลับประเทศมั้ย แต่ฉันไม่มี!
The check-in agent asked me if I had an outbound ticket for proof of a return flight, but I had none!
 


สรุป
สรุปก็คือถ้าเลี่ยงพูด "ขาไป" ในประโยคภาษาอังกฤษได้ ก็ควรเลี่ยง และมาพูดแบบง่ายๆแทน ใช้แค่คำว่า "ไป + สถานที่" ก็พอ เช่น แทนที่จะพูดว่า "ขาไป(จากกรุงเทพฯ ไป ญี่ปุ่น)บินวันที่ 10" เราก็พูดว่า "จะบินไปญี่ปุ่นวันที่ 10" แทน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น