08 April 2021

คนไทยมักอ่านคำเหล่านี้ผิด


จุดผิดพลาดอย่างหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ชอบทำคือเอาเสียง "โท" / "ตรี" ลงท้ายคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

paragon - พารา"ก้อน"
voucher - เว้า"เช่อ"
teacher - ที"เช่อ"
student - สตู"เด้น"
จริงอยู่ที่ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ จะอ่านด้วยวรรณยุกต์ไหนก็ไม่ผิด แต่ภาษาอังกฤษก็มีแพทเทินของเสียงหนักเบา และการลงเสียงหนักเบาให้ถูกต้องนี้จะทำให้ภาษาอังกฤษของเราฟังเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับคนต่างชาติ
ซึ่งวิธีสำหรับคนไทยนั้น เราสามารถเอาระบบวรรณยุกต์ของเรามาประยุกต์กับระบบเสียงหนักเบาของภาษาอังกฤษได้
กฏทั่วๆไปก็คือ
เสียงหนัก = เสียงโท/ตรี
เสียงเบา = เสียงสามัญ/เอก
และสำหรับ 80% ของคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีมากกว่า 1 พยางค์ พยางค์สุดท้ายจะเป็นเสียงเบา(เสียงสามัญ/เอก) เพราะฉะนั้นเราจะลงท้ายด้วยเสียงสามัญ/เอกซะส่วนใหญ่
paragon - พารา"ก่อน"
voucher - เว้า"เฉ่อ"
teacher - ที"เฉ่อ"
student - สตู"เด่น"
ส่วน 20% ที่เหลือนี้เราต้องสังเกตเอาเองเช่น
create อ่านว่า "ครีเอ้ท" ไม่ใช่ "ครีเอ่ท"
request อ่านว่า "รีเควสท" (อ่านกันถูกอยู่แล้ว)
ส่วนวิธีดูว่าอ่านยังไงนี่ง่ายมาก เสิชกูเกิลด้วยคำนั้น แล้วก็จะเจอรูปลำโพง กดลำโพงเพื่อให้มันอ่านให้ฟังได้เลยครับ